วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์

1.จอภาพ (Monitor)

  • 0
    Share
จอภาพ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ติดต่อกับผู้ใช้โดยตรง นับเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากที่สุดอันหนึ่งของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะแสดงผลออกมาเป็นภาพทางหน้าจอ โดยการแปลงจากสัญญานอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งเข้ามา โดยวิธีการนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของจอภาพ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็นจอภาพแบบหลอดรังสีแคโธด หรือจอซีอาร์ที (cathode ray tube: CRT) และจอภาพแบบผลึกเหลวทรานซิสเตอร์แผ่นบาง หรือจอแบบ แอลซีดี (thin film transistor liquid crystal display: TFT-LCD)
1) จอแบบ CRT (Cathode Ray Tube)
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
จอภาพชนิดนี้จะมีขนาดใหญ่คล้ายโทรทัศน์ มีการสร้างภาพโดยใช้การยิงลำแสงอิเล็กตรอนไปที่ผิวหน้าจอ ซึ่งจะยิงเป็นจุดๆเรียงแถวไปจนเต็มทั้งหน้าจอ โดยเมื่อลำแสงอิเล็กตรอนกระทบกับผิวหน้าจอแล้ว ที่ผิวหน้าจอจะมีสารเคลือบอยู่เป็นสารจำพวกสารประกอปของฟอสฟอรัส จะเกิดการเรืองแสงขึ้นมา โดยจะมีแสงทั้งหมดสามมีซึ่งเป็นแม่สี คือ สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน โดยเมื่อแต่ละจุดมารวมกันก็จะเกิดภาพขึ้นบนหน้าจอ

2) จอ LCD (Liquid Crystal Display)
1353157898_457110353_1----LCD-Monitor-22-
จะมีลักษณะแบนราบ มีขนาดบางและน้ำหนักเบาเมื่อเทียบกับจอแบบ CRT การทำงานของจอภาพชนิดนี้นั้นจะใช้การเปลี่ยนและบังคับให้ผลึกเหลวแสดงสีต่างๆออกมาตามที่ต้องการโดยอาศัยหลักการของการใช้ความร้อนที่ได้จากขดลวด ซึ่งทำให้จอแบบ LCD นั้นมีขนาดบางกว่าและเบากว่าจอแบบ CRT เป็นอย่างมาก แถมยังใช้ไฟน้อยกว่า จึงนิยมเอามาใช้กับคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่จำพวกnotebook tablet เป็นอย่างมาก แต่ปัจจุบันคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ ก็นิยมใช้จอแบบ LCD กันเป็นส่วนใหญ่เนื่องจากให้ภาพที่คมชัดกว่าจอแบบเดิม

ประวัติของจอภาพ

Monochrome Display Adapter
ในยุดแรกๆนั้นการแสดงผลทางจอคอมพิวเตอร์นั้นยังแสดงผลเป็นตัวอักษรเท่านั้น โดยบริษัทไอบีเอ็มได้พัฒนาระบบการแสดงผลที่เรียกว่า โมโนโครม(Monochrome Display Adapter : MDA) โดยจะแสดงผลได้แต่ตัวอักษรเท่านั้น แต่มีความละเอียดสูง ซึ่งถ้าหากต้องการเปลี่ยนการแสดงผลให้สามารถแสดงสีและกราฟฟิกได้จะต้องเลือกภาวะการแสดงผลอีกแบบที่เรียกว่า ซ๊จีเอ (Color Graphic Adapter : CGA) แต่จะมีความละเอียดค่อนข้างน้อย ซึ่งภายหลังทางไอบีเอ็มจึงได้กำหนดมาตรฐานการแสดงผลไว้เนื่องจากผู้ผลิตส่วนใหญ่ใช้ระบบการทำงานแบบเดียวกับของไอบีเอ็มต่อมาจึงได้มีผู้ผลิตแผงวงจรแสดงผลที่เรียกว่า แผงวงจรเฮอร์คิวลิส (herculis card) ซึ่งผลิตโดยบริษัทเฮอร์คิวลีส ซึ่งการแสดงผลแบบนี้ก็เป็นที่นิยมและใช้กันต่อเนื่องมาเรื่อยๆ บางครั้งจะเรียกว่า เอชจีเอ (Herculis Graphic Adapter : HGA) หรือ โมโนโครกราฟิกอะแดปเตอร์หรือเอ็มจีเอ (Monochrome Graphic Adapter : MGA)
!BRE)ONgBGk~$(KGrHgoOKiQEjlLmVz3(BJ8JLeJmfQ~~_35
ต่อมาไอบีเอ็มได้พัฒนามาตรฐานการแสดงภาพขึ้นอีกเพื่อรองรับความต้องการทางด้านกราฟฟิกที่มีการแสดงสีและรายละเอียดมากขึ้น เรียกว่า อีจีเอ (Enhance Graphic Adapter : EAG) แต่ก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของระบบปฎิบัติการของวินโดวส์และโอเอสทู ไอบีเอ็มจึงสร้างมาตรฐานการแสดงผลที่เรียกว่า เอ็กซ์วีจีเอ (eXtra Video Graphic Array : XVGA) ซึ่งจะสามารถแสดงภาพที่มีความละเอียดและสีเพิ่มมากขึ้น



ขนาดของจอภาพ

monitor_size
ขนาดของจอภาพจะวัดจากมุมหนึ่งไปยังอีกมุมหนึ่งของจอเป็นแนวทแยง ซึ่งโดยทั่วไปจะมีหน่วยวัดขนาดเป็นนิ้ว แต่จะไม่สามารถบอกได้ว่าจอภาพนั้นมีอัตราส่วนเท่าใด ซึ่งโดยทั่วไปจะมีสองแบบคือ จอรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า จะมีอัตราส่วนอยู่ที่ 4:3 และอีกแบบคือจอรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือจอไวด์สกรีน (Widescreen) จะมีอัตราส่วนอยู่ที่ 16:9 ซึ่งการวัดขนาดวิธีนี้นั้นแรกเริ่มมาจากจอภาพแบบหลอดภาพของโทรทัศน์ เนื่องจากหลอดภาพสมัยนั้นมีลักษณะเป็นวงกลม ทำให้เป็นการวัดโดยการวัดเส้นผ่านศูนย์
กลางเท่านั้น

2.เคส (Case)

  • 0
    Share
ITSONAS_THUNDER_CASE-01
เคสเป็นโครงที่ใช้สำหรับใส่อุปกรณ์ภายในต่างๆเข้าไว้ด้วยกัน อุปกรณ์ที่มักจะใส่ไว้ในเคสก็เป็นพวก เมนบอร์ด(Mainboard) แรม(RAM) การ์ดจอ(VGA Card) ฮาร์ดดิสก์(Hard Disk Drive) พาวเวอซัพพลาย(Power Supply) เป็นต้น มีหลายแบบ หลายสีให้เลือกใช้ตามความพึงพอใจของผู้ใช้
Case02

เราสามารถแยกประเภทของ case ได้ดังนี้
1.แบบ Desktop Computer สำหรับคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะแบบแนวนอน มี 2 แบบคือ Mini และ Slim
2.แบบ Tower Computer เป็นเคสที่ปัจจุบันได้รับความนิยมมากที่สุด ใช้สำหรับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ มีลักษณะเป็นเคสแนวตั้ง มีรูปร่างและสีสันสวยงาม
3.แบบ Portable Computer เป็นเคสสำหรับคอมพิวเตอร์แบบพกพา สามารถหิ้วไปไหนมาไหนได้อย่างง่ายดาย แบ่งเป็น 4 ประเภทคือ Labtop , Notebook ,Sub – Notebook , Palmtop หรือ Pocket PC
Case01
การเลือกใช้เคสนั้น จะเลือกตามลักษณะการใช้งานเป็นหลัก ส่วนใหญ่จะนิยมใช้แบบ Tower สำหรับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะตามบ้าน เนื่องจาก หากใช้แบบ Desktop ที่วางแนวนอนแล้ว หากต้องการจะเปลี่ยนอุปกรณ์อะไรจะต้องยกจอออกมาก่อน เพราะเคสชนิดนี้มักจะวางจอไว้ข้างบนเคสอีกชั้นเพื่อประหยัดเนื้อที่วาง เคสที่ใหญ่ก็จะสามารถใส่อุปกรณ์จำพวกฮาร์ดดิสก์เพิ่มได้มากขึ้น ด้านหน้าเคสจะมีปุ่มให้ใช้งานเพียงไม่กี่ปุ่ม โดยทั่วไปจะมีเพียงแค่ ปุ่มเปิด/ปิดเครื่อง และปุ่มรีเซ็ตเท่านั้น ปุ่มเปิด/ปิดเครื่องนั้น จะมีขนาดใหญ่ที่สุดเพื่อให้เห็นได้ง่าย นอกจากนั้น จะมีหลอดไฟแสดงสถานะการทำงานติดอยู่ด้วย ซึ่งปุ่มเปิด/ปิด ปุ่มรีเซ็ต และหลอดไฟแสดงสถานะนั้น จะต่ออยู่กับเมนบอร์ดอีกทีหนึ่ง
desktop-ho
Case แบบ Desktop แบบแนวนอน
ในเคสรุ่นใหม่ๆจะมีการต่อพอร์ตต่างๆออกมาทางด้านหน้าด้วยเพื่อสะดวกในการใช้งานแทนที่จะนำไปต่อข้างหลัง พอร์ตที่นิยมเอามาไว้ข้างหน้ามักจะเป็น พอร์ตUSB และพอร์ตสำหรับ ลำโพงและไมค์ นอกจากนั้น ทางด้านหน้าเคสจะมีช่องสำหรับไดร์ฟ CD/DVD หรือ Floppy Disk เอาไว้ด้วย

3.พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)

  • 0
    Share
พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)
พาวเวอร์ซัพพลายทำหน้าที่จ่ายกระแสไฟให้กับอุปกรณ์ต่างๆในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยสามารถเลือกใช้งานได้ตามจำนวนวัตต์ ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์ต่อเยอะก็ควรจะเลือกใช้ที่วัตต์สูงๆ ไม่เช่นนั้นกำลังไฟอาจจะไม่พอทำให้ไม่สามารถใช้งานได้ โดยจะทำการแปลงกระแสไฟฟ้าจาก 220 โวลต์ เป็น 3.3 โวลต์ , 5 โวลต์ และ 12 โวลต์ แล้วแต่ว่าอุปกรณ์ชนิดใดต้องการกระแสไฟฟ้าเท่าใด โดยจะแบ่งได้เป็นสองแบบคือ AT และ ATX

1) AT เป็นแหล่งจ่ายไฟที่ใช้ในคอมพิวเตอร์เมื่อก่อนโดยปุ่มเปิด-ปิด นั้นจะต่อตรงกับแหล่งจ่ายไฟ ทำให้เวลาปิดเครื่องนั้น กระแสไฟจะถูกตัดไปในทันทีทำให้อุปกรณ์บางตัวที่ต้องการกระแสไฟเลี้ยงสักครู่หนึ่งก่อนจะปิดได้นั้นเกิดความเสียหาย
2) ATX เป็นแหล่งจ่ายไฟที่พัฒนามาจากแบบแรกโดยจะต่อปุ่มเปิด-ปิด เข้ากับเมนบอร์ด และทำการเปิด-ปิด ผ่านเมนบอร์ดทำให้ยังมีกระแสไฟเลี้ยงอุปกรณ์ก่อนจะทำการปิด ทำให้ให้อุปกรณ์มีความเสียหายน้อยลง ซึ่งจะมีรุ่นต่างๆดังนี้
- ATX 2.01 แบบ PS/2 ใช้สำหรับคอมพิวเตอร์ทั่วไป ที่มีตัวถังแบบ ATX โดยจะสามารถใช้ได้กับเมนบอร์ดแบบ ATX และ Micro ATX
- ATX 2.03 แบบ PS/2 ใช้สำหรับคอมพิวเตอร์เซิฟเวอร์ (Server) หรือเวิร์คสเตชั่น (Workstation) ที่มีตัวถังแบบ ATX โดยจะมีสายไฟเพิ่มขึ้นมาอีกเส้นหนึ่ง เรียกว่า AUX connector
- ATX 2.01 แบบ PS/3 ใช้สำหรับคอมพิวเตอร์ที่มีตัวถังแบบ Micro ATX และเมนบอร์ดแบบ Micro ATX เท่านั้น

ส่วนประกอบต่างๆของพาวเวอร์ซัพพลาย

วงจร Bridge Rectifier
 

วงจร Bridge Rectifier
- AC Input เป็นส่วนขาเข้าโดยส่วนนี้จะต่อเข้ากับปลั๊กไฟ โดยกระแสไฟที่เข้ามาจะเป็นไฟฟ้ากระแสสลับที่มีแรงดันขนาด 220 โวลต์ ความถี่ 50 เฮิร์ต
- ฟิวส์(Fuse) ทำหน้าที่ป้องกันวงจรพาวเวอร์ซัพพลายทั้งหมดในกรณีที่มีกระแสไฟเกินกว่าที่ฟิวส์จะทนได้ ฟิวส์กะจะตัดกระแสไฟในทันที
- วงจรกรองแรงดัน ทำหน้าที่กรองแรงดันไฟที่เข้ามาไม่ให้มีการกระชากของไฟ ซึ่งอาจเกิดจากฟ้าผ่าก็ได้ เพราะหากเกิดการกระชากของกระแสไฟแล้วอาจจะทำให้วงจรต่างๆในพาวเวอร์ซัพพลายเกิดความเสียหายได้
-ภาคเรคติไฟเออร์(Rectifier) ทำหน้าที่แปลงไฟฟ้ากระแสสลับให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง โดยกระแสไฟจะวิ่งผ่านวงจรไดโอดบริดจ์เรคติไฟเออร์ (Bridge Rectifier) เพื่อแปลงไฟกระแสสลับให้เป็นกระแสตรง และจากนั้นตัวเก็บประจุ (Capacitor) ในวงจรจะทำหน้าที่ปรับแรงดันให้มีความเรียบขึ้น โดยจะมีวงจรสวิตชิ่ง (Switching) เป็นตัวควบคุมว่าควรจะจ่ายไฟให้กับวงจรได้หรือยัง
-หม้อแปลงไฟฟ้า (Transformer) จะทำการแปลงแรงดันที่ได้มาจากวงจรเรคติไฟเออร์ เพื่อให้มีขนาดแรงดันที่ลดลงมาก่อนที่จะส่งต่อไปยังวงจรควบคุมแรงดัน
-วงจรควบคุมแรงดัน (Voltage Control) ทำหน้าที่กำหนดค่าของแรงดันให้เหมาะสมกับอุปกรณ์แต่ละตัว
-วงจรควบคุม ทำหน้าที่ควบคุมวงจรสวิตชิ่งว่าจะให้ส่งแรงดันไฟที่ได้มาจากวงจรเรคติไฟเออร์ไปยังหม้อแปลงหรือไม่ โดยจะทำงานร่วมกับวงจรลอจิกบนเมนบอร์ดอีกทอดหนึ่ง

4.แป้นพิมพ์(Keyboard)

  • 0
    Share
computer-keyboard-layout-explained
ทำหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ใช้ โดยจะประกอปไปด้วยแป้นพิมพ์ที่มีปุ่มต่างๆมากมาย ทั้งปุ่มตัวอักษร(Typewriter keys) ตัวเลข(Numeric keypad) ปุ่มพิเศษ (Special-purpose keys) ปุ่มควบคุมอื่นๆ(Control keys) หรือปุ่มฟังก์ชั่นต่างๆ(Function keys) สำหรับการใช้งานคอมพิวเตอร์ที่ต้องใช้การพิมพ์เป็นหลัก แป้นพิมพ์ถือเป็นอุปกรณ์หลักในการติดต่อระหว่างผู้ใช้และคอมพิวเตอร์เลยทีเดียว ในยุคแรกนั้นจะใช้ในการพิมพ์ชุดคำสั่งเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน รวมถึงเป็นตัวป้อนข้อมูลต่างๆจากผู้ใช้ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อีกด้วย

นอกจากนี้แป้นพิมพ์ยังมีหลายรูปแบบ ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามการใช้งานเช่น
Frogpad_keyboard
- Chorded ในขณะที่แป้นพิมพ์โดยทั่วไปมีการทำงานหนึ่งครั้งต่อหนึ่งปุ่ม แต่ Chorded Keyboard มีการแยกตามวิธีการกดปุ่มต่างๆร่วมกัน ทำให้สามารถพิมพ์ตัวอักษรได้โดยใช้ปุ่มที่มีจำนวนน้อยลง ถ้าใช้งานได้ดีก็สามารถพิมพ์ได้เร็วกว่าการใช้แป้นพิมพ์ปกติทั่วไปเสียอีก ซึ่งการใช้ปุ่มที่น้อยลงทำให้เหมาะสำหรับการนำมาใช้บนอุปกรณ์ที่เล็ก เช่นบนโทรศัพท์ หรืออุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้มือเดียวในการป้อนข้อมูล แป้นพิมพ์ชนิดนี้ไม่ค่อยเป็นที่นิยมเนื่องจากต้องใช้ความชำนาญในการใช้สูง
virtual-keyboard-266159
- Software เป็นแป้นพิมพ์ที่ใช้อยู่ในรูปแบบของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยจะแสดงภาพแป้นพิมพ์บนหน้าจอ จากนั้นจึงจะใช้อุปกร์ป้อนข้อมูลอื่นๆ เช่นเม้าส์ในการกดแต่ละปุ่มเพื่อใช้งาน หรือไม่ก้สามารถใช้จอแบบทัชสกรีน เพื่อให้ผู้ใช้กดปุ่มได้โดยตรงบนหน้าจอ แป้นพิมพ์แบบนี้เป็นที่นิยมมากในอุปกรณ์จำพวก โทรศัพท์มือถือ แท็ปเล็ต ที่มีการใช้งานเป็นจอทัชสกรีน
7919865_1294601846
-แบบพับ เป็นแป้นพิมพ์ที่ใช้อุปกรณ์ที่ยืดหยุ่นทำขึ้นมา เพื่อให้สามารถม้วน หรือพับได้ในเวลาที่ไม่ได้ใช้งาน แป้นพิมพ์แบบนี้สามารถวางไว้บนพื้นผิวที่ไม่เรียบได้ และยังทนทานต่อการเปียกมากกว่าแป้นพิมพ์แบบมาตรฐานอีกด้วย ในบางรุ่นสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์จำพวกสมาร์ทโฟนได้อีกด้วย บางรุ่นสามารถใช้งานในน้ำได้ เป็นที่นิยมในห้องปฏิบัติการหรือโรงพยาบาลที่จำเป็นจะต้องมีการฆ่าเชื้ออยู่ตลอดเวลา
infraredprojectorkeyboard
- Optical keyboard technology แป้นพิมพ์แบบเลเซอร์ แป้นพิมพ์ชนิดนี้จะเป็นอุปกรณ์ที่ฉายแสงลงบนพื้นผิวที่เรียบเป็นรูปแป้นพิมพ์ ดดยเราสามารถกดลงบนพื้นที่แสงนั้นฉายลงไปเพื่อกดปุ่มแป้นพิมพ์เช่นเดียวกับการกดปุ่มแป้นพิมพ์ในแป้นพิมพ์มาตรฐาน โดนจะมีเซ็นเซอร์ที่ไวต่อแสงอยู่ เมื่อเรากดลงบนจุดที่กำหนด อุปกรณ์ตัวนั้นก็จะอ่านค่าว่าเรากดตรงไหน ก็จะทำให้เราสามารถใช้งานได้เหมือนแป้นพิมพ์มาตรฐานทั่วไปได้เลย อุปกรณ์ชนิดนี้นิยมใช้กับพวก แท็ปเล็ต หรือ สมาร์ทโฟน เพราะพกพาง่าย และมีขนาดเล็ก

5.เมาส์ (Mouse)

  • 0
    Share
Gigabyte-ECO600-mouse
เมาส์ เป็นอุปกรณ์สำหรับควบคุมตัวชี้(Pointer) บนจอคอมพิวเตอร์ นับเป็นอุปกรณ์สำคัญอีกชิ้นหนึ่งสำหรับคอมพิวเตอร์ในยุดปัจจุบัน โดยการทำงานของเมาส์นั้นภายในจะมีอุปกรณ์สำหรับตรวจจับการเคลื่อนไหวของลูกกลิ้งยาง หรือเมาส์รุ่นใหม่ที่เป็นแบบออพตีคอล(Optical) นั้นจะใช้เป็นแสงจากแอลอีดี(LED) และจับการเคลื่อนไหวโดยการวัดการเปลี่ยนแปลงของแสงที่สะท้อนกลับมา จากนั้นเมาส์จะส่งสัญญานไปยังตัวชี้บนจอคอมพิวเตอร์เพื่อให้ตัวชี้ขยับตามการเคลื่อนไหวของเมาส์

ประวัติของเมาส์

Mouse-patents-englebart-rid
แรกเริ่มนั้นเมาส์นั้นได้ถูกออกแบบมาหลายแบบ มีทั้งแบบที่ต้องใช้ติดกับคางหรือจมูกในการใช้งาน โดยเมาส์ในยุดแรกนั้นจะมีขนาดที่ใหญ่และมีลักษณะเป็นเฟืองสองตัววางตั้งฉากกัน ใช้สำหรับการตรวจจับการเคลื่อนไหวในแนวแกน X และ Y โดยใช้ชื่อว่า “X-Y Position Indicator For A Display System” (ตัวระบุตำแหน่ง X-Y สำหรับระบบแสดงผล) แต่ก็ยังถือว่ามีขนาดที่ใหญ่ และยังต้องใช้สองมือในการควบคุม จึงได้มีการพัฒนาต่อมาเรื่อยๆจนในช่วงต้นทศวรรษที่ 1970 ได้มีการใช้ลูกบอลมาแทนที่ล้อหมุน และตรวจจับการเคลื่อนไหวทั้งสองแกนด้วยล้อเล็กๆที่อยู่ภายใน ทำให้มีขนาดเล็กลง และสามารถใช้ได้ด้วยมือเดียว จึงทำให้ผู้ใช้สามารถใช้เมาส์ไปพร้อมๆกับคีย์บอร์ดได้ ซึ่งรูปแบบเมาส์นี้ก็ยังไม่เปลี่ยนแปลงไปมากนักจนถึงปัจจุบัน
Mouse-mechanism-cutaway
ในยุดต่อมานั้น เมาส์ได้ถูกพัฒนาขึ้นโดยใช้แสงจากแอลอีดีและเซนเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหวจากแสงสะท้อน เรียกว่า ออพติคอลเมาส์ ในช่วงแรกๆนั้นออพติคอลเมาส์ต้องใช้ในพื้นผิวที่เรียบและเป็นโลหะเท่านั้น เนื่องจากต้องส่งข้อมูลให้กับ cpu ของคอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผลการเคลื่อนไหวของเมาส์ชนิดนี้ แต่ในภายหลังได้มีการใส่ชิปสำหรับประมวลผลเข้าไปในตัวเมาส์เลย ทำให้เมาส์นั้นสามารถใช้ได้ในพื้นผิวที่หลากหลายขึ้น โดยหลักการของเมาส์ชนิดนี้นั้น จะใช้เซนเซอร์ตรวจจับแสงที่พื้นผิวที่เกิดจากการส่องของแอลอีดี โดยข้อมูลจะถูกส่งไปประมวลผลภาพที่ออกมาเพื่อที่จะคำนวนการเปลี่ยนแปลงในแนวแกน X และ Y โดยมีอัตราสูงถึง 1512 เฟรมต่อวินาที ทำให้เมาส์ชนิดนี้มีความแม่นยำสูงมาก อีกทั้งยังไม่มีชิ้นส่วนที่ต้องเคลื่อนไหว เมื่อเทียบกับเมาส์แบบลูกกลิ้งแบบเก่าแล้ว ทำให้เมาส์ชนิดนี้เข้ามาแทนที่เมาส์ชนิดลูกกลิ้งได้อย่างรวดเร็ว
inside-optical-mouse
ต่อมาได้มีการใช้แสงเลเซอร์มาแทนการใช้แสงจากแอลอีดี ทำให้รายละเอียดของภาพที่เมาส์ประมวลผลภายในนั้น สูงขึ้นถึง 20 เท่า ทำให้มีความละเอียดสูงกว่าเมาส์แบบออพติคอล แต่ด้วยราคาที่ค่อนข้างแพงทำให้ไม่นิยมใช้กับคอมพิวเตอร์ทั่วไปนัก

การใช้งานปุ่มกด

Apple_Macintosh_Plus_mouse
แรกเริ่มเดิมทีนั้น เมาส์มีเพียงแค่หนึ่งปุ่มเท่านั้น แต่ในต่อมาก็มีการเพิ่มปุ่มขึ้นมาเรื่อยๆมีทั้ง 2 ปุ่ม 3 ปุ่ม หรือแม้กระทั่ง 5 ปุ่ม ซึ่งที่นิยมสุดน่าจะเป็นเมาส์แบบ 2 และ 3 ปุ่ม โดยเมาส์แบบ 2 ปุ่มนั้นจะมีปุ่มที่สองเพื่อรองรับการทำงานกับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ใช้สำหรับเรียกเมนูลักขึ้นมา ส่วนปุ่มที่ 3 นั้น โดยมากมักจะใช้เพื่อเรียกใช้งาน มาโคร
เมาส์ในปัจจุบันนั้นมักจะมีล้อ(Scroll wheel) ติดมาด้วยตรงกลางระหว่างสองปุ่ม ใช้ในการเลื่อนหน้าต่างขึ้นลง หรือแล้วแต่โปรแกรมแต่ละโปรแกรมจะปรับใช้งาน โดยล้อเมาส์นี้ จะสามารถกดลงไปได้เป็นปุ่มที่สามด้วย ในบางตัวอาจจะเป็นลูกบอลเล็กๆแทนล้อหมุน เรียกว่า แทรกบอล (Track Ball) ใช้เพื่อเพิ่มการเคลื่อนที่เป็นสองมิติ จากล้อหมุนปกติ
การใช้งานปุ่มนั้นมีดังนี้
การคลิกครั้งเดียว (Single clicking) – เป็นการกดปุ่มแเพียงครั้งเดียว
ดับเบิ้ลคลิก(Double-click) – เป็นการกดปุ่มสองครั้งติดกันอย่างรวดเร็ว ในใช้การเปิดไฟล์ต่างๆ
ทริเปิลคลิก (Triple-click) – เป็นการกดปุ่มสามครั้งติดกันอย่างรวดเร็ว ในบ่อยในโปรแกรมจำพวก ไมโครซอพท์เวิด หรือเว็บบราวเซอร์ต่างๆ เป็นการเลือกข้อความทั้งย่อหน้า
การคลิกแล้วลาก (Click-and-drag) – เป็นการกดปุ่มค้างไว้แล้วลากเมาส์ไปตามจุดที่เราต้องการ ใช้ในการลากเพื่อเคลื่อนย้ายออบเจ็ค(Object) บนหน้าจอไปวางไว้ในตำแหน่งที่ต้องการ

6.เมนบอร์ด (Main board)

  • 0
    Share
Mainboard
ทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมดในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยอุปกรณ์ทุกตัวจะต้องเชื่อมต่อกับเมนบอร์ดนี้ มีลักษณะเป็นแผ่นวงจรขนาดใหญ่ โดยบนแผ่นวงจรนั้นจะมีช่องสำหรับนำอุปกรณ์ต่างๆมาเสียบไว้ที่เรียกว่า ซ็อคเก็ต(Socket) ซึ่งแต่ละอุปกรณ์ก็จะมี socket เฉพาะของอุปกรณ์นั้นๆ

ประเภทของเมนบอร์ด

- XT 8086-80286
- AT 80286-80686 (Pentium)
- ATX 80586-80686
XT 8086-80286 นั้นเป็นเมนบอร์ดในยุคแรกๆ ซึ่งในปัจจุบันได้เลิกใช้งานไปแล้ว
AT 80286-80686 (Pentium) เป็นเมนบอร์ดที่เข้ามาแทนที่ XT 8086-80286 แต่หลังจาก ATX 80586-80686 ออกมา ได้มีการใช้งานที่ลดลงไปเรื่อยๆ
ATX 80586-80686 เป็นเมนบอร์ดที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

หน้าที่การทำงานของ Motherboard

Mainboard หรือ Motherboard เป็นแผงวงจรหลักที่ใช้สำหรับใส่อุปกรณ์ต่างๆ เช่น CPU , RAM หรือ การ์ดจอ เป็นต้น และยังมี slot เสริมไว้
สำหรับใส่การ์ดหรืออุปกรณ์ที่ต้องการใช้งานเพิ่มเติมได้อีกด้วย
การประมวลผลต่างๆในคอมพิวเตอร์นั้น จะต้องมีการส่งค่าต่างๆไปยังอุปกรณ์อื่นๆ ซึ่ง Mainboard จะเป็นตัวกลางในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ทั้งหมด โดยมีระบบ บัส(Bus) เป็นช่องทางเดินของข้อมูล โดยในเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นแรกๆนั้น จะใช้บัสแบบ ISA 16 bit แต่ในปัจจุบันที่นิยมใช้กันคือ บัสแบบ PCI 32 bit และ 64 bit ทำให้มีความสามารถในการประมวลผลสูงขึ้น

โครงสร้างของ Mainboard

Mainboard ในยุคแรกๆนั้นจะมีโครงสร้างเป็นแบบ AT ซึ่งใช้กับ IBM PC รุ่น AT และสามารถนำไปใส่ในเคสแบบ Mini Tower หรือ Baby AT ได้ จากนั้นจะเป็นรุ่น Baby AT ซึ่งสามารถใช้กับ PC รุ่น XT จนถึง 486 และ Pentium จนถึง Pentium II รุ่นแรกๆนั้น มักจะนิยมใช้ mainboard รุ่น Baby AT กัน ซึ่งใน Pentium รุ่นหลังๆ มักจะนิยมใช้ mainboard แบบ ATX ซึ่งออกแบบมาให้มีระบบระบายความร้อนที่ดียิ่งขึ้น ทำให้มีความเร็วในการ ประมวลผลสูงกว่าแบบ Baby AT มากและยังสามารถสั่งปิดเครื่องแบบอัตโนมัติได้อีกด้วย
Acer_E360_Socket_939_motherboard_by_Foxconn.svg
ส่วนประกอบของ Mainboard มีดังนี้
1.CPU Socket
เป็นช่องสำหรับใส่ชิพ CPU โดยแต่ละรุ่นก็จะแตกต่างกันตามรูปร่างของ CPU ดังนี้
- Socket A หรือ Socket 462 เป็น CPU ในตระกูล AMD รุ่น Athlon,Athlon XP และ Duron
- Socket 7 เป็น socket มาตรฐานของ Intel ขนาด 321 พิน ใช้ได้กับ Pentium , Pentium MMX , AMD K5,K6
- Socket 8 เช่นเดียวกับ Socket 7 แต่ใช้ได้กับ CPU Pentium Pro
- Socket 370 เป็น socket ขนาด 370 พิน ใช้กับ CPU Pentium Celeron ในแพกเกจแบบ PPGA (Plastic Pic Grid Array) , Pentium III และซีพียูจากทาง VIA อย่าง VIA Cyrix ซึ่งรองรับได้เป็นบางรุ่นเท่านั้น
- Socket 423 เป็น socket ของ CPU Pentium 4 ที่ออกมาในรุ่นแรกๆ ซึ่งขณะนั้นยังใช้เทคโนโลยีในการผลิดแบบ 0.18 ไมครอน โดยใช้ชื่อรหัสว่า
Northwood ซึ่งมีหน่วยความจำแคชระดับ 2 จำนวน 512 กิโลไบต์
- Socket 478 สำหรับซีพียูรุ่นนี้ ถ้าความเร็วไปตรงกับซีพียูแพนเทียมโฟร์ที่เป็นแบบ Socket 478 ก็จะมีรหัสต่อท้าย ด้วยตัว A เช่น 1.8A ,2.0A
- Slot 1 มีขนาด 242 พิน ใช้กับ Pentium II/III , Pentium Celeron มีลักษณะเป็น Slot สำหรับเสียบ CPU ในแนวตั้ง
- Slot 2 ใช้กับ Pentium II/III ระดับไฮเอน เช่นรุ่น Xeon
2. ซีมอส (CMOS) (Complementary Setal Oxide Semiconductor) ทำหน้าที่เก็บ Configuration ต่างของเครื่อง
3. ไบออส (BIOS : Basic Input Output System) บางครั้งเรียกว่า Firmware หมายถึงโปรแกรมที่บรรจุอยู่ในซิปแบบ EEPROM (Electrically Erasable Programmable Read-Only Memory) มีหน้าที่หลักดังนี้

หน้าที่การทำงานของ BIOS

1). ตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ ที่เชื่อมต่ออยู่กับเครื่อง เมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ (POST)
2). โหลดระบบปฏิบัติการ(OS) (Bootstrap Loader)
3). เป็นตัวกลางในการเข้าถึง Hardware ต่างๆ
4. Socket สำหรับหน่วยความจำสำหรับติดตั้ง RAM หรือการ์ดเสริมต่างๆ
5. คอนเน็กเตอร์สำหรับไอดีอี (IDE Connector)
IDE Connector จะมีจำนวนพิน 40 ขา โดยปกติบน Mainboard จะมี 2 ตัวคือ Primary IDE Connector , Secondary IDE Connector
ใช้ต่ออุปกรณ์ตามมาตรฐาน IDE เช่น Harddisk , CDROM
6. Floppy Drive Connector
Floppy Drive Connector จะมี 34 พิน และมีขนาดเล็กกว่า IDE Connector
Mainboard ในรุ่นก่อนจะมีแผงวงจรเล็ก ๆ เรียกว่า Multi I/O ใช้สำหรับต่อ Harddisk , Floppy Drive ,Port ต่าง ๆ
7. คอนเน็กเตอร์ I/O ด้านหลัง
ใช้สำหรับต่อสายของอุปกรณ์ภายนอกที่อยู่ด้านหลังของเครื่องซึ่งมักจะมีคอนเน็กเตอร์แบบต่าง ๆ เช่น พอร์ตขนาน 2 ช่อง พอร์ตอนุกรม COM1 COM2
Mouse Keyboard PS/2 และช่องเสียบสาย Lan (RJ-45)
8. คอนเน็กเตอร์ I/O ด้านหน้า ส่วนใหญ่จะใช้เป็นที่ต่อสายไฟเพื่อแสดงสถานะของส่วนต่าง ๆ และสวิตช์ควบคุมการเปิด/ปิดเครื่อง
9. พอร์ต (Port) เป็นช่องทางสำหรับติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ต่อพ่วงภายนอก เช่น เครื่องพิมพ์ , โมเด็ม
10. Expansion Slot & Board
Expandability ความสามารถในการเพิ่มการ์ดหรือบอร์ดต่าง ๆ ลงใน Expansion Slot เช่น Expanded Memory , Display Adapter
11. Microprocessor หน่วยประมวลผลกลาง
12. Power Supply แหล่งจ่ายไฟเลี้ยงอุปกรณ์ต่าง ๆ ในเครื่องคอมพิวเตอร์
13. Lithium Battery ทำหน้าที่จ่ายไฟให้กับ CMOS และนาฬิกาของระบบตลอดเวลา
14. Jumper Jumper ใช้สำหรับกำหนดรูปแบบการทำงานของบอร์ดให้เป็นตามที่ต้องการ

7.ซีพียู (CPU)

  • 0
    Share
cpu_i7
หน่วยประมวลผลกลาง หรือ ซีพียู (Central Processing Unit : CPU) เปรียบได้กับสมองของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ประมวลผลหรือตัดสินใจ จากคำสั่งที่ได้รับมาจากซอฟต์แวร์หรือผู้ใช้ ซึ่งคำสั่งที่ได้รับมาจะอยู่ในรูปของชุดคำสั่ง ซึ่งอาจจะเป็นการคำนวนทางคณิตศาสตร์ต่างๆ หรือการเปรียบเทียบทางตรรกะศาสตร์ มีกระบวนการพื้นฐานดังนี้
- อ่านชุดคำสั่ง (fetch)
- ตีความชุดคำสั่ง (decode)
- ประมวลผลชุดคำสั่ง (execute)
- อ่านข้อมูลจากหน่วยความจำ (memory)
- เขียนข้อมูล/ส่งผลการประมวลกลับ (write back)
ซีพียูจะประกอบไปด้วย ส่วนควบคุมการประมวลผล (control unit) และ ส่วนประมวลผล (execution unit) โดยจะเก็บข้อมูลต่างๆไว้ในส่วนของระบบรีจิสเตอร์(Register)
ซีพียูถูกพัฒนาให้อยู่ในรูปของไมโครชิพที่เรียกว่า ไมโครโพรเซสเซอร์ โดยได้ถูกพัฒนาขึ้นมาอย่างรวดเร็วตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ.2518 ซึ่งบริษัทอินเทล(Intel) ได้พัฒนาไมโครโพรเซสเซอร์ขึ้นมาและเป็นที่รู้จักกันดีก็คือ 8080 ไมโครโพรเซสเซอร์ เป็นซีพียูขนาด 8 บิท ทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติการซีพีเอ็ม(CP/M) ต่อมาบริษัทแอปเปิลก็เลือกเอาซีพียู 6502 ของบริษัทมอาเทคมาใช้ผลิตเป็นเครื่องแอปเปิลทู และได้รับความนิยมอย่างมากในตอนนั้น
Intel 80486Intel 80486
Intel 80486Intel 80486
ซีพียูที่นิยมใช้กันเป็นส่วนใหญ่นั้นเป็นของตระกูลอินเทลที่พัฒนามาจาก 8088 8086 80286 80386 80486 และเพนเทียม ซึ่งการพัฒนาซีพียูรุ่นนี้เริ่มมาจากเบอร์ 8088 หลังจากนั้นได้มีการพัฒนาให้เป็นแบบ 16 บิท โดยมีการรับข้อมูลจากภายนอกขนาด 8 บท แต่ภายในใช้การคำนวนทีละ 16 บิท บริษัทไอบีเอ็มจึงได้เลือก ซีพียู 8088 แบบ 16 บิทมาทำเป็นพีซีรุ่นแรก
ขีดความสามารถของซีพียูที่จะต้องพิจารณา นอกจากขีดความสามารถในการประมวลผลภายใน การับส่งข้อมูล ระหว่างซีพียูกับอุปกรณ์ภายนอกแล้ว ยังต้องพิจารณาขีดความสามารถในการเข้าไปเขียนอ่านในหน่วยความจำด้วย ซีพียู 8088 สามารถเขียนอ่านในหน่วยความจำได้สูงสุดเพียง 1 เมกะไบต์ (ประมาณหนึ่งล้านไบต์) ซึ่งถือว่ามากในขณะนั้น
ความเร็วของการทำงานของซีพียูขึ้นอยู่กับการให้จังหวะที่เรียกว่า สัญญาณนาฬิกาซีพียู 8088 ถูกกำหนดจังหวะด้วยสัญญาณนาฬิกาที่มีความเร็ว 4.77 ล้านรอบใบ 1 วินาทีหรือที่เรียกว่า 4.77 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ซึ่งปัจจุบันถูกพัฒนาให้เร็วขึ้นเป็นลำดับ
ไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นพีซีได้รับการพัฒนาเพิ่มเติมฮาร์ดดิสก์ลงไปและปรับปรุงซอฟต์แวร์ระบบและเรียกชื่อรุ่นว่า พีซีเอ็กซ์ที (PC-XT)
ในพ.ศ. 2527 ไอบีเอ็มเสนอไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ที่ทำงานได้ดีกว่าเดิม โดยใช้ชื่อรุ่นว่า พีซีเอที (PC-AT) คอมพิวเตอร์รุ่นนี้ใช้ซีพียูเบอร์ 80286 ทำงานที่ความเร็วสูงขึ้นคือ 6 เมกะเฮิรตซ์
การทำงานของซีพียู 80286 ดีกว่าเดิมมาก เพราะรับส่งข้อมูลกับอุปกรณ์ภายในเป็นแบบ 16 บิตเต็ม การประมวลผลก็เป็นแบบ 16 บิต ทำงานด้วยความเร็วของจังหวะสัญญาณนาฬิกาสูงกว่า และยังติดต่อเขียนอ่านกับ หน่วยความจำได้มากกว่า คือ ติดต่อได้สูงสุด 16 เมกะไบต์ หรือ 16 เท่าของคอมพิวเตอร์รุ่นพีซี
EBIntel_Corei5
ในพ.ศ. 2529 บริษัทอินเทลประกาศตัวซีพียูรุ่นใหม่ คือ 80386 หลายบริษัทรวมทั้งบริษัทไอบีเอ็มเร่งพัฒนา โดยนำเอาซีพียู 80386 มาเป็นซีพียูหลักของระบบ ซีพียู 80386 เพิ่มเติมขีดความสามารถอีกมาก เช่น รับส่งข้อมูล ครั้งละ 32 บิต ประมวลผลครั้งละ 32 บิต ติอต่อกับหน่วยความจำได้มากถึง 4 จิกะไบต์ (1 จิกะไบต์เท่ากับ 1024 บ้านไบต์) จังหวะสัญญาณนาฬิกาเพิ่มได้สูงถึง 33 เมกะเฮิรตซ์ ขีดความสามารถสูงกว่าพีซีรุ่นเดิมมาก และใน พ.ศ. 2530 บริษัทไอบีเอ็มเริ่มประกาศขายไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ที่ชื่อว่า พีเอสทู (PS/2) โดยมีโครงสร้างทางฮาร์ดแวร์ของระบบ แตกต่างออกไปโดยเฉพาะระบบเส้นทางส่งถ่ายข้อมูลภายใน (bus)
ผลปรากฎว่า เครื่องคอมพิวเตอร์รุ่น 80386 ไม่เป็นที่นิยมมากนัก ทั้งนี้เพราะยุคเริ่มต้นของเครื่องคอมพิวเตอร์ 80386 มีราคาแพงมาก ดังนั้นในพ.ศ. 2531 อินเทลต้องเอาใจลูกค้าในกลุ่มเอทีเดิม คือลดขีดความสามารถของ 80386 ลงให้เหลือเพียง 80386SX
ซีพียู 80386SX ใช้กับโครงสร้างเครื่องพีซีเอทีเดิมได้พอดีโดยแทบไม่ต้องดัดแปลงอะไร ทั้งนี้เพราะโครงสร้าง ภายในซีพียูเป็นแบบ 80386 แต่โครงสร้างการติดต่อกับอุปกรณ์ภายนอกใช้เส้นทางเพียงแค่ 16 บิต ไมโครคอมพิวเตอร์ 80386SX จึงเป็นที่นิยมเพราะมีราคาถูกและสามารถทดแทนเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นพีซีเอทีได้
พียู 80486 เป็นพัฒนาการของอินเทลใน พ.ศ. 2532 และเริ่มใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในปีต่อมา ความจริงแล้วซีพียู 80486 ไม่มีข้อเด่นอะไรมากนัก เพียงแต่ใช้เทคโนโลยีการรวมชิป 80387 เข้ากับซีพียู 80386
ซึ่งชิป 80387 เป็นหน่วยคำนวณทางคณิตศาสตร์ และรวมเอาส่วนจัดการหน่วยความจำเข้าไว้ในชิป ทำให้การทำงานโดยรวมรวดเร็วขึ้นอีก
ในพ.ศ. 2535 อินเทลได้ผลิตซีพียูตัวใหม่ที่มีขีดความสามารถสูงขึ้น ชื่อว่า เพนเตียม การผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ จึงได้เปลี่ยนมาใช้ซีพียูเพนเตียม ซึ่งเป็นซีพียูที่มีขีดความสามารถเชิงคำนวณสูงกว่าซีพียู 80486 มีความซับซ้อนกว่าเดิม และใช้ระบบการส่งถ่ายข้อมูลได้ถึง 64 บิต
การพัฒนาทางด้านซีพียูเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ไมโครโพรเซสเซอร์รุ่นใหม่จะมีโครงสร้างที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น ใช้งานได้ดีมากขึ้น

8.การ์ดแสดงผล (Display Card)

  • 0
    Share
การ์ดแสดงผล
การ์ดแสดงผล
การ์ดแสดงผลจะทำงานเมื่อซีพียูประมวลผลจากข้อมูลต่างๆที่โปรแกรมส่งเข้ามา เมื่อซีพียูประมวลผลเสร็จก็จะทำการส่งข้อมูลที่จะใช้แสดงผลต่อไปยังการ์ดแสดงผล การ์ดแสดงผลก็จะส่งต่อข้อมูลไปยังจอภาพเพื่อแสดงผลออกมาตามข้อมูลที่ได้รับมา โดยการ์ดบางรุ่นจะสามารถประมวลผลได้ในตัวเอง ทำให้ซีพียูไม่ต้องทำงานมากนัก มีผลทำให้การทำงานของคอมพิวเตอร์นั้นเร็วขึ้นด้วย บางรุ่นก็จะมีหน่วยความจำในตัวเอง แต่บางรุ่นที่ไม่มีก็จะต้องดึงหน่วยความจำมาจากแรม (RAM) ซึ่งหาก แรมมีจำนวนน้อย อาจส่งผลให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ช้าลงไปด้วย แต่ในบางรุ่นที่มีหน่วยความจำในตัวเองก็จะทำให้รับข้อมูลจากซีพียูได้มากขึ้น ประมวลผลได้เร็วขึ้น ทำให้การแสดงผลบนจอภาพมีคุณภาพที่สูงตามไปด้วย

อินเตอร์เฟส (Interface) หรือระบบบัสของตัวการ์ด

เป็นส่วนที่ใช่เชื่อมต่อเข้ากับระบบบัสที่อยู่บนเมนบอร์ด ใช้เสียบลงบนช่องเสียบ (Slot) บนเมนบอร์ดที่เป็นชนิดเดียวกันกับตัวการ์ด ปัจจุบันการ์ดจอมีอินเตอร์เฟสให้เลือกใช้อยู่ 2 แบบคือ AGP และ PCI Express ซึ้งมีรายระเอียดดังนี้
AGP (Accelerated Graphic Port)
agp-graphics-slot-vs-pci-e-express-slot
เป็นระบบบัสที่มีความถี่ในการทำงานที่ 66.6 MHz ด้วยบัสนาด 32 บิตมาตรฐาน เริ่มต้นคือ AGP 1X ซึ่งให้ Bandowidth ที่ 266 MB/sec (โดยประมาณ) แต่สำหรับมาตรฐานล่าสุดที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบันคือ AGP 8X ซึ่งให้ Banidth สูงสุดที่ 2132 MB/sec หรือ 213 GB/sec
PCI Express
PCIExpress
เป็นมาตรฐานของระบบบัสแบบใหม่ที่ใช้วิธีการรับส่งข้อมูลกันในแบบอนุกรม (Serial) สองทิศทางทั้งไปและกลับ ซึ่งถูกออกแบบให้เลือกใช้ความเร็วมากน้อยได้ตามต้องการของอุปกรณ์แต่ละชนิด และยังให้แบนด์ดิวธ์ (Bandwidth) เพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว โดยมาตรฐานเริ่มต้นคือ PCI Express x1 (นำมาใช้แทน PCI เดิม) ให้แบนด์วิดธ์ทั้งไปและกลับรวมกันสูงสุด 500 MB/sec แต่สำหรับมาตรฐานล่าสุดที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบันคือ PCI Express x16 (ใช้แทน AGP เดิม) นั้น ให้แบนด์วิดธ์ทั้งไปและกลับรวมกันสูงสุดมากถึง 8000 MB/sec หรือ 8 GB/sec เลยทีเดียวนอกจากนี้บนเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆหลายรุ่นยังรองรับเทคโนโลยี SLI(Scalable Link Interface multi-GPU Technology) โดยมีการติดตั้งสล็อตแบบ PCI Express x16 นี้มาให้พร้อมกันถึง 2 ตัวเพื่อช้วยเพิ่มประสิทภาพในการประมวลผลกราฟิกให้สูงขึ้นอีกด้วย

ชิปประมวลผลกราฟิก (GPU: Graphic Proessing Unit)

GeForce 6600GT (NV43) GPU
ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลทางด้านกราฟฟิกที่ถูกส่งมายังการ์ด ถือว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดบนตัวการ์ด โดยจะช่วยลดภาระของซีพียูลง ทำให้ความเร็วในการแสดงภาพ 2มิติ และ 3มิติ เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะการคำนวนทาง 3มิติเป็นจุดหลักที่ทำให้วงการ VGA Card แข่งขันกันอย่างสูงเนื่องจากเกมในปัจจุบันต้องการกราฟฟิกที่สูงมาก การแสดงผลทางด้านกราฟฟิกที่ดีเท่าไหร่ ยิ่งเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น

หน่วยความจำบนตัวการ์ด (VRAM : Video RAM)

800px-SEC_VRAM
ทำหน้าที่รับข้อมูลที่ถูกประมวลผลแล้วจากชิปประมวลผลกราฟิก มาพักไว้ก่อนจะทำการส่งไปแสดงผลยังจอภาพ ทำงานร่วมกับชิปประมวลผลกราฟิกเช่นเดียวกับ CPU และ RAM ยิ่ง VRAM มีความจุและความเร็วสูงเท่าไหร่ ยิ่งทำให้ประสิทธิภาพการประมวลผลทางด้านกราฟฟิกสูงขึ้นตามไปด้วย

ตัวแปลงสัญญาณสู่จอภาพ (RAMDAC)

300px-IMS_G171
ย่อมาจาก RAM Digital-to-Analog Convertor หรือเรียกย่อๆว่า RAMDAC ทำหน้าที่แปลงข้อมูลดิจิตอลที่ได้รับมาจาก GPU ให้เป็นสัญญานอนาล็อกและส่งไปยังจอภาพเพื่อแสดงผล โดยการแสดงผลภาพทีละเฟรมไปเรื่อยๆตามอัตรา Refresh Rate ยิ่ง Refresh Rate สูงมากขึ้นเท่าไหร่ ภาพที่ได้ก็จะยิ่งมีคุณภาพสูงตามไปด้วย

9.แรม (RAM)

  • 0
    Share
1GB533-xlarge
แรม หรือ RAM(Random-Access Memory) เป็นหน่วยความจำหลักที่ซีพียูสามารถดึงมาใช้ได้ทันที แต่ไม่ใช่หน่วยความจำถาวรจำเป็นต้องมีไฟมาหล่อเลี้ยงตลอดเวลาในการทำงาน หากไม่มีไฟมาหล่อเลี้ยงข้อมูลที่บันทึกไว้ก็จะหายไป โดยการทำงานของแรมนั้น เมื่อซีพียูได้รับข้อมูลมาจากผู้ใช้งานหรือโปรแกรมแล้วก็จะเริ่มทำการประมวลผล เมื่อซีพียูประมวลผลเสร็จแล้ว ก็จะส่งต่อข้อมูลที่ประมวลผลเสร็จแล้วเก็บไปไว้ที่แรมก่อนจะถูกส่งต่อไปยังอุปกรณ์ต่างๆต่อไป
เนื้อที่ในส่วนความจำหลักของ RAM นั้นจะถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วนดังนี้
1. Input Storage Area ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่ได้รับมา ซึ่งข้อมูลนี้จะถูกนำไปใช้ในการประมวลผลต่อไป
2. Working Storage Area ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่อยู่ในระหว่างการประมวลผล
3. Output Storage Area ทำหน้าที่เก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล ตามความต้องการของผู้ใช้ เพื่อรอที่จะถูกส่งไปแสดงออก ยังหน่วยแสดงผลอื่นที่ผู้ใช้ต้องการ
4. Program Storage Area ทำหน้าที่ใช้เก็บชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการจะส่งเข้ามา เพื่อใช้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติตามคำสั่ง ชุดดังกล่าว โดยหน่วยควบคุมจะทำหน้าที่ดึงคำสั่งจากส่วน นี้ไปทีละคำสั่งเพื่อทำการแปลความหมาย ว่าคำสั่งนั้นสั่งให้ทำอะไร จากนั้นหน่วยควบคุม จะไปควบคุมอุปกรณ์ที่ต้องการทำงานดังกล่าวให้ทำงานตามคำสั่งนั้นๆ

Module ของ RAM

RAM ที่เรานำมาใช้งานนั้นจะเป็น chip เป็น ic ตัวเล็กๆ ซึ่งส่วนที่เรานำมาใช้เป็นหน่วยความจำหลัก จะถูกบัดกรีติดอยู่บนแผงวงจร หรือ Printed Circuit Board เป็น Module ซึ่งมีหลัก ๆ อยู่ 2 Module คือ SIMM กับ DIMM
SIMM หรือ Single In-line Memory Module
SIMM
โดยที่ Module ชนิดนี้ จะรองรับ data path 32 bit โดยทั้งสองด้านของ circuit board จะให้สัญญาณ เดียวกัน
DIMM หรือ Dual In-line Memory Module
DIMMs
โดย Module นี้เพิ่งจะกำเนิดมาไม่นานนัก มี data path ถึง 64 บิต โดยทั้งสองด้านของ circuited board จะให้สัญญาณที่ต่างกัน ตั้งแต่ CPU ตระกูล Pentium เป็นต้นมา ได้มีการออกแบบให้ใช้งานกับ data path ที่มากว่า 32 bit เพราะฉะนั้น เราจึงพบว่าเวลาจะใส่ SIMM RAM บน slot RAM จะต้องใส่เป็นคู่ ใส่โดด ๆ แผง เดียวไม่ได้
Memory Module ปัจจุบันมีอยู่ 3 รูปแบบคือ 30-pin, 72-pin, 168-pin ที่นิยมใช้ในเวลานี้คือ 168-pin

10.ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk)

  • 0
    Share
harddisk-hgst_deskstar_7k400-1
เป็นหน่วยความจำถาวรประจำเครื่อง โดยจะประกอบไปด้วยแผ่นจานแม่เหล็ก(platters) หลายๆแผ่นมาเรียงอยู่บนแกนเดียวกันที่เรียกว่า Spindle ทำให้แผ่นแม่เหล็กแต่ละแผ่นหมุนไปพร้อมๆกัน โดยใช้มอเตอร์เป็นตัวหมุน โดยจะมีหัวอ่านติดอยู่ประจำแผ่นแต่ละแผ่นซึ่งหัวอ่านของแต่ละแผ่นจะเชื่อมติดกัน สามารถเคลื่อนที่เข้า-ออกแผ่นจานได้อย่างรวดเร็ว โดยมีแผงวงจรควบคุมอีกต่อหนึ่งอยู่ ซึ่งข้อมูลที่เก็บลงฮาร์ดดิสก์จะเก็บอยู่บนแผ่นจานแม่เหล็ก โดยแผ่นจานแต่ละแผ่นจะถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนก็คือ แทร็กและเซกเตอร์ โดยแทร็กจะเป็นรูปวงกลมทีละชั้นเข้าไปข้างใน และในแต่ละแทร็กก็จะถูกแบ่งออกเป็นเสี้ยวหนึ่งของวงกลมซึ่งเรียกว่าเซกเตอร์ ซึ่งเราจะแย่งฮาร์ดดิสก์ออกเป็น 3 ชนิดตามอินเตอร์เฟส(Interface) ดังนี้
- IDE (Integrated Drive Electronics) จะใช้สายแพรในการต่อเข้ากับเมนบอร์ดโดยจะมีคอนเน็คเตอร์จำนวน 40 ขาที่มีบนบอร์ดไว้รองรับ ซึ่งโดยปกติแล้ว 1 คอนเน็คเตอร์จะสามารถต่อฮาร์ดดิสก์ได้สองตัว
- Serial ATA (Advanced Technology Attachment) เป็นอินเตอร์เฟสแบบใหม่ที่เข้ามาแทนแบบ IDE ซึ่งมีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลสูงกว่าแบบ IDE โดยมีความเร็วถึง 150 Mbytes ต่อ วินาที ทำให้มีความรวดเร็วในการทำงานมากขึ้น
- SCSI (Small Computer System Interface) อินเตอร์เฟสแบบนี้จะมีการ์ดที่มีหน่วยประมวลผลอยู่ในตัวเป็นตัวควบคุมอีกต่อหนึ่งแยกออกมาจากตัวฮาร์ดดิสก์ต่างหาก เพื่อเร่งความเร็วในการรับส่งข้อมูล เหมาะสำหรับใช้งานในรูปแบบ Server แต่มีราคาค่อนข้างแพงกว่าสองแบบข้างต้นมาก
ssd-01
นอกจากนี้ยังมีฮาร์ดดิสก์อีกแบบหนึ่งที่ไม่ได้ใช้แผ่นจานแม่เหล็กในการเก็บข้อมูล แต่ใช้ชิพวงจรรวมที่ประกอบรวมกันเป็นหน่วยความจำถาวร ที่เรียกว่า โซลิดสเตตไดรฟ์ (SSD : Solid state drive) โดยที่ โซลิดสเตตไดรฟ์ ได้ถูกสร้างขึ้นมาทดแทนฮาร์ดดิสก์แบบแผ่นจานแม่เหล็ก จึงมีข้อดีกว่าแบบแผ่นจานแม่เหล็กเยอะมาก โดยที่ โซลิดสเตตไดรฟ์จะประกอบไปด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ จึงไม่ต้องมีชิ้นส่วนทางกลใดๆที่ต้องเคลื่อนที่ขณะทำงาน ซึ่งต่างจากฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ที่ต้องใช้มอเตอร์ในการหมุนแผ่นจานแล้วมีหัวอ่านที่เคลื่อนที่ตลอดเวลาการทำงาน ทำให้โซลิดสเตตไดรฟ์สามารถทนแรงสั่นสะเทือนได้ดีกว่า และจากการใช้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ทำให้การเข้าถึงข้อมูลรวดเร็วกว่าฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ที่ต้องใช้หัวอ่านเคลื่อนที่เข้าไปยังจุดที่เก็บข้อมูล ทำให้ โซลิดสเตตไดรฟ์ มีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลสูงกว่าฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์มาก นอกจากนั้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องเสียงรบกวนหรืออุณหภูมิในการใช้งาน โซลิดสเตตไดรฟ์ ยังมีประสิทธิภาพดีกว่าฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์มากนัก เพียงแต่ราคาอาจจะสูงกว่าพอสมควร

11.CD-ROM / CD-RW / DVD / DVD-RW

Asus_CD-ROM_drive
ใช้สำหรับการอ่านแผ่น CD หรือ DVD โดยหากต้องการที่จะเขียนข้อมูลลงไปในแผ่นจะต้องเป็นไดร์ฟที่มี RW ด้วย โดยการทำงานนั้นจะอ่านข้อมูลจาก CD/DVD
โดยใช้หัวอ่านเลเซอร์ที่จะยิงแสงเลเซอร์ลงบนซีดีรอม ซึ่งบนซีดีรอมนั้นจะแบ่งเป็นแทร็กและเซกเตอร์เช่นเดียวกับฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ แต่จะมีขนาดเท่ากันทุกเซกเตอร์ เมื่อ
เริ่มทำงานมอเตอร์จะหมุนแผ่นด้วยความเร็วต่าางๆกันทำให้แต่ละเซกเตอร์มีอัตราเร็วในการอ่านคงที่
CD ROM(Compact disc Read Only Memory) เป็นสื่อสำหรับบันทึกข้อมูลชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นแผ่นคล้ายแผ่นเสียงสำหรับฟังเพลง สามารถเก็บข้อมูล
ได้มากกว่าแผ่นดิสเก็ตเป็นอย่างมาก แถมราคายังถูกกว่าฮาร์ดดิสก์ในปริมาณความจุที่เท่ากัน ทำให้เป็นที่นิยมในการใช้บรรจุสื่อจำพวก ซอฟแวร์ เกม และโปรแกรม
ต่างๆมากขึ้น

ประเภทของซีดีรอม

เมื่อดูจากสภาพภายนอกจะเห็นว่าซีดีรอมแต่ละแผ่นมีลักษณะเหมือนกันทุกประการ แต่แท้ที่จริงนั้นซีดีรอมแบ่งออกได้หลายประเภท การแยกประเภทของซีดีรอมนั้น แยกตามข้อกำหนดของหนังสือที่ระบุเกี่ยวกับมาตรฐานการผลิตสื่อเก็บข้อมูลซีดีรอม เช่น Yellow CD หมายถึง ซีดีรอมที่ถูกผลิตตามข้อหนังสือหน้าปกสีเหลือง เป็นต้นซีดีรอมได้ถูกแบ่งออกเป็นหลายประเภท ศึ่วจะทำการแบกประเภทตามข้อกำหนดที่ระบุเกี่ยวกับมาตรฐานการผลิตสื่อเก็บข้อมูลซีดีรอม ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ ตามสีของหน้าปกหนังสือดังนี้
- Yellow CD หรือ DATA Storage CD
- Red CD / Audio CD
- CD-ROM XA หรือ Multi-session CD หรือ ISO 9660
- Mixed Mode CD

คุณสมบัติของแผ่นซีดีรอม

cd-rw-disc
CD-ROM เป็นสื่อที่มีคุณสมบัติที่หลากหลายต่างจากสื่อประเภทอื่นหลายประการด้วยกัน เช่น
- มีความจุที่สูงมาก เมื่อเทียบกับหน่วยความจำอื่น ซึ่งสามารถบรรจุข้อมูลได้ถึง 680 เมกกะไบต์ หรือเท่ากับหนังสือจำนวน 250,000 หน้า
- ข้อมูลที่บันทึกไว้เป็นข้อมูลดิจิตอล ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้หลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น รูป เสียง หรือตัวหนังสือ
- มีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลสูง
- สามารถใช้เครื่องเล่น CD ROM ทั่วๆไปอ่านข้อมูลข้างในได้โดยไม่ต้องถึงเครื่องคอมพิวเตอร์
- ราคาของแผ่นและเครื่องเล่นนั้น ถือว่าถูกมาก เนื่องจากมีการใช้กันอย่างแพร่หลาย
- ถึงแม้แผ่นจะสามารถเสื่อมสภาพได้จากความชื้อ และการเก็บรักษา แต่ก็ยังถือว่ามีอายุการใช้งานค่อนขข้างนานเลยทีเดียว
- ข้อมูลที่บันทึกไว้แล้วจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเด็ดขาด เนื่องจากไม่สามารถเขียนทับได้ ทำให้ข้อมูลข้างในไม่สามารถติดไวรัสได้เช่นกัน
- เมื่อเทียบกับแผ่น floppy disk แล้ว ถือว่าประหยัดทั้งเนื้อที่เก็บ และราคา เนื่องจาก แผ่น CD ROM หนึ่งแผ่นเทียบได้กับ floppy disk จำนวนเกือบ 600 แผ่น เลยทีเดียว
- เนื่องจากมีขนาดที่เล็กทำให้สามารถพกพา หรือจัดเก็บได้สะดวก และยังสามารถส่งต่อได้ง่ายอีกด้วย เนื่องจากมีน้ำหนักที่เบา

ประวัติของ CD ROM

ในปี 1982 CD-DA (compact disk-digital audio)ได้เป็นที่รู้จักของตลาด ถูกพัฒนาโดยบริษัท Phillip กับ Sony ใช้ในการบันทึกเสียง ต่อมาในปี 1985 เทคโนโลยีได้ขยายตัวกว้างไปสู่วงการคอมพิวเตอร์ในรูปแบบของอุปกรณ์ในการเก็บ ข้อมูล ซีดีรอมเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เป็นส่วนประกอบอยู่รวมกับคอมพิวเตอร์และเป็นที่ยอมรับอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการอ่านแผ่นซีดี ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือแบบฟันเฟืองซึ่งจะมีเสียงเมื่อมีการทำงานและแบบสายพานซึ่งจะมีเสียงเงียบกว่า ขณะ เริ่มทำงานจะแบ่งเป็นแทร็กและเซ็กเตอร์เหมือนกับแผ่นดิสก์ แต่เซ็กเตอร์ในซีดีรอมจะมีขนาดเท่ากัน ทุกเซ็กเตอร์ ไดร์ฟซีดีรอมเริ่มทำงานมอเตอร์จะเริ่มหมุนด้วยความ เร็วไม่คงที่ ทั้งนี้เพื่อให้อัตราเร็วในการอ่านข้อมูลจากซีดีรอมคงที่สม่ำเสมอทุกเซ็ก เตอร์ขึ้นอยู่กับวงของแผ่นซีดีที่อยู่รอบนอกหรือใน หลังจากมอเตอร์หมุนแสงเลเซอร์ จะฉายลงซีดีรอม โดยลำแสงจะถูกโฟกัสด้วยเลนส์ที่เคลื่อนตำแหน่งได้ โดยการทำงานของขดลวด ลำแสงเลเซอร์จะทะลุผ่านไปที่ซีดีรอมแล้วถูกสะท้อนกลับ ที่ผิวหน้า ของซีดีรอมจะเป็น หลุมเป็นบ่อ ส่วนที่เป็นหลุมลงไปเรียก “แลนด์” สำหรับบริเวณที่ไม่มีการเจาะลึกลงไปเรียก “พิต” ผิวสองรูปแบบนี้ใช้แทนการเก็บข้อมูลในรูปแบบ ของ 1 และ 0 แสงเมื่อถูกพิตจะกระจายไปไม่สะท้อนกลับ แต่เมื่อแสงถูกเลนส์จะสะท้อนกลับผ่านแท่งปริซึม จากนั้นหักเหผ่านแท่งปริซึมไปยังตัวตรวจจับแสงอีกที ทุกๆช่วงของลำแสงที่กระทบตัวตรวจจับแสงจะกำเนิดแรงดันไฟฟ้า หรือเกิด 1 และ 0 ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ ส่วนการบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีรอมนั้น ต้องใช้แสงเลเซอร์เช่นกัน โดยมีลำแสงเลเซอร์จากหัวบันทึกของเครื่อง บันทึกข้อมูลส่องไปกระทบพื้นผิวหน้าของแผ่น ถ้าส่องไปกระทบบริเวณใดจะทำให้บริเวณนั้น เป็นหลุมขนาดเล็ก บริเวณทีไม่ถูกบันทึกจะมีลักษณะเป็นพื้นเรียบสลับกันไปเรื่อยๆตลอดทั้งแผ่น
pic1
แผ่นซีดีรอมเป็นสื่อในการเก็บข้อมูลแบบออปติคอล (Optical Storage) ใช้ลำแสงเลเซอร์ในการอ่านข้อมูล แผ่นซีดีรอมทำมาจากแผ่นพลาสติกเคลือบด้วยอลูมิ เนียม เพื่อสะท้อนแสงเลเซอร์ที่ยิงมา เมื่อแสงเลเซอร์ที่ยิงมาสะท้อนกลับไป ที่ตัวอ่านข้อมูลที่เรียกว่า Photo Detector ก็อ่านข้อมูลที่ได้รับกลับมาว่าเป็นอะไร และ ส่งค่า 0 และ 1 ไปให้กลับซีพียู เพื่อนำไปประมวลผลต่อไป
ความเร็วของไดร์ฟซีดีรอม มีหลาย ไดร์ฟตัวแรกที่เกิดขึ้นมามีความเร็ว 1x จะมีอัตราในการโอนถ่ายข้อมูล (Data Transfer Rate) 150 KB ต่อวินาที หรือ 153,600 Byteต่อวินาที

DVD

dvd-disc
DVD นั้นเป็นมาตรฐานบน Digital Versatile Disc แต่รู้จักกันในชื่อ Digital Video Disk สามารถเก็บข้อมูลได้มาก และให้คุณภาพของภาพและเสียงที่ เหนือกว่าแผ่นซีดีรอม การพัฒนาของดีวีดีนั้นเริ่มต้นจาก DVD-ROM ที่สามารถอ่านแผ่นได้อย่างเดียว จนมาเป็น DVD-R ซึ่งสามารถบันทึกลงบนแผ่น DVD ใน ที่สุดกลายมาเป็น DVD-RW ซึ่งนอกจากจะอ่านแผ่นดีวีดีทั่วไปได้แล้ว ยังสามารถบันทึกข้อมูลซ้ำลงบนแผ่นดีวีดีได้อีกด้วย เครื่อง DVD-RW นั้นจะอาศัย เทคโนโลยีการบันทึกแผ่นแบบ Phase changing ช่วยให้แผ่นที่ทำการบันทึกมา สามารถนำไปใช้กับเครื่องเล่นดีวีดีแบบต่าง ๆ ที่มีวางจำหน่ายในปัจจุบัน

Blu-ray

blu-ray-disc
Blu-ray หรือ Blu-ray Disc (BD) เป็นชื่อของเทคโนโลยีมาตรฐานใหม่สำหรับออฟติคอลดิสก์ ที่ถูกผลักดันให้มาแทนมาตรฐาน DVD ที่ใช้กันอย่างแพร่ หลายในปัจจุบัน โดย Blu-ray นั้นถูกพัฒนาขึ้นมาให้สามารถบันทึกข้อมูลวิดีโอรายละเอียดสูง high-definition video (HD) หรือใช้เก็บไฟล์ข้อมูลได้มากกว่า DVD หลายเท่าตัว ซึ่ง Blu-ray แบบ single-layer นั้นจะมีเนื้อที่เก็บข้อมูล 25GB ส่วนแบบ double-layer นั้นจะเก็บข้อมูลได้สูงถึง 50GB เลยทีเดียว โดย จะช่วยให้ภาพยนตร์ต่างๆที่ถูกบันทึกลงแผ่นดิสก์ Blu-ray นั้นมีรายละเอียดต่างๆทั้งด้านภาพ และเสียงสูงกว่า DVD ขึ้นไปอีก ส่วนที่มาของชื่อ Blu-ray นั้นจะมา จากการที่ใช้แสงเลเซอร์สีน้ำเงิน-ม่วงในการอ่านและเขียนแผ่นดิสก์ แทนการใช้แสงเลเซอร์สีแดงเหมือนกับ DVD ซึ่งแสงเลเซอร์สีน้ำเงิน-ม่วงนั้นจะมีความยาวของ คลื่น 405nm ที่สั้นกว่าแสงเลเซอร์สีแดงที่มีความยาวคลื่น 650nm ทำให้สามารถบันทึกข้อมูลลงไปในแผ่นดิสก์ได้มากขึ้นในเนื้อที่เท่าเดิม โดยว่ากันคร่าวๆแล้ว Blu- ray จะสามารถเก็บวิดีโอความละเอียดสูงได้นานถึง 9ชั่วโมงในแผ่นดิสก์แบบ double-layer และสามารถเก็บไฟล์วิดีโอที่บีบอัดตามมาตรฐานที่ใช้ใน DVD ปัจจุบันนี้ได้นานต่อเนื่องถึง 23ชั่วโมงเลยทีเดียว รวมถึงบันทึกความละเอียดสูงด้วยมาตรฐานใหม่ๆ ได้ด้วย

12.ฟล็อปปี้ดิสก์ (Floppy Disk)

  • 0
    Share
OLYMPUS DIGITAL CAMERA
เป็นอุปกรณ์ที่มีมาก่อนคอมพิวเตอร์เสียอีก ฟล็อปปี้ดิสก์ ยุคแรกๆมีขนาดตั้งแต่ 8 นิ้ว 5.25 นิ้ว จนปัจจุบันอยู่ที่ 3.5 นิ้ว มีความจำอยู่ที่ไม่กี่ร้อยกิโลไบต์จนถึง 2.88 เมกกะไบต์ ปัจจุบันคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่นั้นแทบจะไม่มี Floppy Disk Drive อีกแล้ว เนื่องจากแผ่น ฟล็อปปี้ดิสก์ นั้นจุความจำได้น้อย แถมยังพังง่าย

ประวัติของ Floppy Disk

floppy-disk-comparison
แผ่นดิสก์ ยุคแรกนั้นมีขนาดถึง 8 นิ้ว ถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1971 เพื่อนำมาใช้กันเครื่อง System/370 ของบริษัท IBM ซึ่งผู้ที่สร้างมาคือ เดวิด โนเบิลในทีมงานของ อลัน ซูการ์ต ซึ่งภายหลัง ได้ออกมาตั้งบริษัทเองชื่อ บริษัทซูการ์ต และภายหลังได้มีการพัฒนาให้มีขนาดที่เล็กลงเหลือขนาดเพียงแค่ 5 1/4 นิ้ว มีความจุ 110 กิโลไบต์ ในเวลาต่อมา บริษัท Tandon ได้นำมาพัฒนาเพิ่มโดยการใช้วิธีเก็บข้อมูลทั้งสองหน้า ทำให้สามารถเก็บได้เพิ่มขึ้น เป็น 360 กิโลไบต์ ทำให้แผ่นดิสก์เป็นที่นิยมมากในท้องตลาด
ในภายหลัง บริษัทแอปเปิลได้ผลิตเครื่องที่ใช้แผ่นดิสก์ขนาด 3 1/2 นิ้วของบริษัทโซนี่ และได้ทำการผลักดันให้แผ่นชนิดนี้กลายมาเป็นมาตรฐานในวงการคอมพิวเตอร์ของอเมริกา แรกเริ่มนั้นความจุของแผ่นขนาด 3 1/2 นิ้วมีขนาด 360 กิโลไบต์สำหรับหน้าเดียว และ 720 กิโลไบต์ สำหรับสองหน้า และต่อมาได้เพิ่มเป็น 1.44 เมกกะไบต์ ซึ่งทำให้แผ่นดิสก์ชนิดนี้เป็นที่แพร่หลานเป็นอย่างมาก ถึงแม้ในภายหลัง จะสามารถพบวิธีเพิ่มให้เป็น 2.88 MB ได้เป็นที่สำเร็จ แต่ทว่าในขณะนั้น คอมพิวเตอร์ทั้งหลายต่างก็ต้องการความจุที่สูงกว่านี้ แผ่นดิสก์จึงถูกแทนที่ด้วย CD ROM และ DVD ROM ที่มีความจุมากกว่า

การทำงานของ Floppy Disk

usb_floppy_disk_3
กลไกการทำงานของฟล็อปปี้ดิสก์นั้น ค่อนข้างจะคล้ายกับของ ฮาร์ดดิสก์ เพียงแต่ตัวจานหมุนจะเป็นวัสดุที่อ่อนนิ่มเช่น ไมลาร์(Mylar) เป็นพลาสติกเคลือบสารแม่เหล็กเอาไว้ โดยใน 1 แผ่นจะมีแค่จานเดียว หัวอ่านจะทำการเลื่อนเข้าไปเพื่ออ่านข้อมูล เนื่องจากหัวอ่านจะต้องสัมผัสกับแผ่นโดยตรงทำให้มีรอบการหมุนที่ค่อนข้างต่ำ คือประมาณ 300 รอบต่อนาทีเท่านั้นเอง เมื่อเทียบกับฮาร์ดดิสก์แล้วมีความเร็วถึง 7200 รอบต่อ นาทีเลยทีเดียว เนื่องจากมีการสัมผัสกับแผ่นจานโดยตรงทำให้เกิดความเสียหายได้ง่าย

13.เน็ตเวิร์คการ์ด (Lan card)

  • 0
    Share
lne100tx
เน็ตเวิร์คการ์ดหรือการ์ดแลน เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์และเครือข่าย โดยส่วนใหญ่จะเรียกว่า NIC(Network Interface Card) โดยจะทำการแปลงข้อมูลเป็นสัญญานไฟฟ้าที่สามารถส่งไปตามสายสัญญานได้ ซึ่งก็จะมีความเร็วในการส่งข้อมูลหลายระดับตั้งแต่ 10 Mbps, 100Mbps หรือ 1000Mbps ซึ่งการ์ดบางรุ่นก็สามารถเลือกระดับความเร็วในการทำงานได้ ปัจจุบันเมนบอร์ดส่วนใหญ่มักจะมีชิพที่เป็นช่องเน็ตเวิร์คการ์ดในตัวอยู่แล้ว ทำให้ เน็ตเวิร์คการ์ด นั้นไม่ค่อยมีเห็นใช้กันแล้ว

การเลือกซื้อการ์ดแลน

สำหรับเครื่องคอมฯ ตั้งโต๊ะ (Desktop Computer)
สามารถเลือกซื้อการ์ดแลนเป็นแบบติดตั้งภายใน หรือจะซื้อแบบเชื่อมต่อภายนอกแบบ USB ก็ได้ แต่ราคาจะสูงกว่าแบบติดตั้งภายในมาก
สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (Notebook Computer)
โดยปกติ Notebook ทุกรุ่นในปัจจุบัน จะมีพอร์ตในการเชื่อมต่อแบบสาย (Wire) และแบบไร้สาย (Wireless) มาให้ด้วยเสมอ แต่ถ้ามีปัญหา สามารถซื้อมาเพิ่มเติมได้ในแบบที่เป็น USB หรือจะซื้อแบบ PCMCIA ได้ (ถ้า Notebook ของเรามี port ชนิดนี้อยู่)
PCMCIA-network-LAN-card

พอร์ตการเชื่อมต่อการ์ดแลน

ถ้าเป็นรุ่นที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อภายใน (สำหรับ Desktop Computer) เวลาเลือกซื้อต้องสอบถามให้ดีว่า เป็นุร่นที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อแบบไหน เช่น ISA (รุ่นนี้โบราณแล้ว อย่าซื้อ! ถ้าไม่จำเป็น), PCI รุ่นใหม่ เป็นต้น ส่วนราคาในปัจจุบันถูกลงมากๆ ครับ แค่หลักร้อยบาทเท่านั้น แต่อีกจุดหนึ่งที่ควรทราบคือ ความเร็ว ซึ่งแต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อ อาจมีความเร็วที่ต่างกันเช่น 10/100/1000 MBPS เรียกว่าถ้ามีตัวเลข 1000 ก็สามารถเลือกซื้อได้เลย

14.การ์ดเสียง (Sound Card)

  • 0
    Share
hires_Recon3DPCIe1
การ์ดเสียง หรือ Sound Card เป็นอุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์แสดงผลออกมาเป็นเสียงได้ โดยในยุคแรกๆนั้น ก่อนที่จะมีการ์ดเสียง คอมพิวเตอร์สามารถส่งเสียงได้เพียงจากเมนบอร์ดเท่านั้น ที่เรียกว่า Beeping Speaker โดยจะเป็นเสียง ปี๊ปๆ เท่านั้น หลังจากนั้นได้มีการผลิตการ์ดเสียงออกมา เพื่อจัดการและแสดงสัญญานเสียงออกมาทางลำโพง โดยช่วงแรกๆนั้นเรียกว่า Sound Board ผลิตโดยบริษัท Ad Lib. และนำไปใช้ใน PC ของบริษัท IBM ช่วงแรกนั้น ทาง Ad Lib. ได้ใช้ Sound Chip ของ Yamaha YM3812 ซึ่งทำงานบน slot ISA 8 bit หลังจากนั้น จึงได้กลายมาเป็นมาตรฐานของการ์ดเสียง ทำให้วงการการ์ดเสียงเริ่มพัฒนามากขึ้น
หลังจากนั้น การ์ดเสียงได้ถูกพัฒนาต่อมาเรื่อยๆ โดยเน้นที่คุณภาพของเสียงที่ออกมา ซึ่งคุณภาพของเสียงนั้นจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก 2 ประการคือ อัตราการสุ่มตัวอย่างและความแม่นยำของตัวอย่างที่ได้ ความแม่นยำนั้น ถูกกำหนดโดยความสามารถของภาค A/D Converter หรือก็คือภาคการเปลี่ยนสัญญานจาก อนาล็อกเป็นดิจิตอล หรือ จากดิจิตอลเป็นอนาล็อก ยิ่ง A/D Converter มีความละเอียดมากก็จะได้สัญญานดิจิตอลที่ใกล้เคียงสัญญานอนาล็อกมากที่สุด ซึ่งความละเอียดของ A/D Converter นั้น กำหนดโดยจำนวนบิตของสัญญานดิจิตอลเอาท์พุท เช่น A/D Converter 8 Bit จะสามารถแสดงค่าที่ต่างกันได้ 256 ระดับ หรือ A/D Converter 16 bit จะสามารถแสดงค่าที่ต่างกันได้ 65,536 ระดับ ยิ่งแสดงระดับเสียงได้มากเท่าไหร่ ก็จะทำให้ความผิดเพื้อนของสัญญานนั้นลดน้อยลงไปด้วย

การทำงานของ Sound Card

เมื่อข้อมูลจากภายนอกถูกนำเข้าโดยผ่านทางช่องรับสัญญาณเช่น Line-in หรือ Microphone สัญญาณที่ถูกนำเข้าจะมีรูปแบบเป็นสัญญาณเสียงหรือก็คือสัญญาณ Analog ซึ่งเป็นคลื่นเสียงที่มีความถี่ ( Frequency ) และ ความกว้าง ( Amplitude ) เมื่อสัญญาณถูกส่งมาถึงในส่วนแรกคือภาค ADC ( Analog-to-Digital Converter ) ในขั้นตอนนี้ ADC จะทำการแปลงสัญญาณให้เปลี่ยนไปอยู่ในรูปของ Binary ซึ่งเป็นรูปแบบของสัญญาณ Digital ( มีค่าเป็น 0 และ 1 )
Soundcard_mixing_schema
จากนั้น ข้อมูล Binary จากภาค ADC จะถูกส่งต่อไปให้กับภาค DSP ( Digital Signal Processor ) เพื่อทำการประมวลผล ในขั้นตอนนี้ DSP จะทำการบีบอัดข้อมูลที่ได้รับมาให้มีขนาดเล็กลงก่อน และทำการส่งต่อไปให้กับ CPU เพื่อทำการประมวลผลตามคำสั่งต่อไปว่าจะนำไปจัดเก็บลงในส่วนบันทึกข้อมูลหรือส่งข้อมูลเพื่อใช้งานต่อ
เมื่อเราต้องการนำข้อมูลเสียงที่ถูกจัดเก็บไว้ในรูปแบบ Digital ไปใช้งานไม่ว่าจะเป็น จาก CD ,Harddisk , หรืออุปกรณ์บันทึกข้อมูลต่างๆ ข้อมูลเหล่านั้นจะถูกส่งผ่านบัสของระบบไปยัง CPU ทำการจัดส่งไปให้ภาค DSP ทำการคลายการบีบอัดเสียก่อน แล้วจึงทำการส่งข้อมูลต่อไปยังภาค DAC ( Digital-to-Analog Converter )
ภาค DAC จะทำการแปลงสัญญาณที่ได้รับมาซึ่งอยู่ในรูปแบบ Binary ที่คลายการบีบอัดแล้วให้กลับไปอยู่ในรูปแบบของสัญญาณคลื่นเสียง ( Analog ) แล้วส่งต่อไปให้กับส่วนรับสัญญาณปลายทาง ไม่ว่าจะเป็น ภาคปรี ( PreAmplifier) หรือ ภาคขยาย ( Amplifier ) หรือ ลำโพงและหูฟังต่อไป
sound_sound_card
ดังนั้น ประสิทธิภาพในส่วนการทำงานใดๆ ก็ตามของ Sound Card ไม่ว่าจะเป็นคุณสมบัติเฉพาะของอุปกรณ์ในวงจรแต่ละชิ้น กระแสไฟเลี้ยง เส้นทางการเดินของไฟฟ้าและสัญญาณ รูปแบบวงจรและจุดเชื่อมต่อต่างๆ ล้วนมีผลให้เกิดลักษณะเสียงที่แตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะช่วงการทำงานและเดินทางของคลื่นเสียงในรูปแบบ Analog ซึ่งเป็นสัญญาณที่สามารถเปลี่ยนแปลงและผิดเพี้ยนจากผลกระทบและองประกอบต่างๆ ได้โดยง่าย ทำให้ Sound Card แต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อ ให้ลักษณะ เด่น ด้อย แต่ละอย่างไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานว่าจะเลือกใช้ตัวไหน อย่างไร ให้เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละบุคคล ทั้งเรื่องแนวเสียง ความสามารถ และราคา
ในปัจจุบัน เมนบอร์ดแต่ละตัวก็จะมีการ์ดเสียงติดมาด้วยอยู่แล้ว ที่เรียกว่า Sound on board เพียงแต่เสียงที่ออกมา อาจจะไม่ได้มีความละเอียดสูงเท่ากับการใช้การ์ดเสียงแยก แต่โดยส่วนใหญ่ ผู้ใช้มักจะไม่เห็นความแตกต่างของสัญญานเสียงมากนัก หากไม่ได้นำไปใช้งานที่เกี่ยวข้องกับทางเสียงโดยตรง ทำให้การ์ดเสียงนั้นเป็นที่นิยมลดน้อยลงไป เนื่องจากคนส่วนใหญ่ใช้เพียงแค่ Sound on Board ก็เพียงพอแล้ว

15.เครื่องพิมพ์ (Computer printer)

  • 0
    Share
canonmx4202
เครื่องพิมพ์ หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า ปรินเตอร์ (Computer printer) เป็นอุปกรณ์ที่ต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์เพื่อที่จะใช้พิมพ์ข้อความหรือเอกสารต่างๆ วมถึงรูปภาพที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ออกมาบนแผ่นกระดาษ หรือแผ่นใส โดยทั่วไปแล้ว มักจะใช้สายเคเบิลในการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ โดยคอมพิวเตอร์จะส่งข้อมูลที่ต้องการพิมพ์ผ่านทางสายเคเบิลเพื่อให้เครื่องพิมพ์ทำการพิมพ์ลงบนกระดาษตามที่ต้องการ
เราสามารถแบ่งเครื่องพิมพ์ออกเป็นสองหมวดใหญ่ๆตามเทคโนโลยีในการพิมพ์ดังนี้
- เทคโนโลยีการพิมพ์สมัยเก่าและเพื่อวัตถุประสงค์พิเศษ
-เทคโนโลยีการพิมพ์สมัยใหม่

เทคโนโลยีการพิมพ์สมัยเก่าและเพื่อวัตถุประสงค์พิเศษ

เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ (Dot-matrix printer)
dot_matrix_obsoleteblog
เครื่องพิมพ์ชนิดนี้มีหลักการทำงานคือการใช้หัวพิมพ์ที่มีลักษณะเป็นเข็มทิ่มลงไปบนกระดาษโดยมีผ้าหมึกรองอยู่ระหว่างเข็มกับกระดาษอีกชั้น ทำให้หมึกบนผ้าหมึกลงไปติดบนกระดาษเป็นจุด เมื่อทำซ้ำเช่นนี้หลายๆจุดต่อกันทำให้เกิดเป็นเส้น หรือสร้างเป้นรูปร่างตามตัวอักษรที่ต้องการได้ มีข้อดีคือ ถูกและคุณภาพงานก็เหมาะสมกับราคา เพียงแต่มีข้อเสียคือ เวลาใช้งานจะมีเสียงค่อนข้างดัง และจะทำได้เพียงแค่พิมพ์แบบ ขาว-ดำ เท่านั้น
พล็อตเตอร์ (Plotter)
Plotter-Hp
เป็นเครื่องพิมพ์แบบที่ใช้ปากกาในการเขียนข้อมูลลงบนกระดาษ ซึ่งเครื่องพิมพ์ประเภทนี้เหมาะกับงานเขียนแบบของวิศวกรและสถาปนิก และเครื่องพิมพ์ประเภทนี้มีราคาแพงที่สุดในเครื่องพิมพ์ประเภทต่างๆ

เทคโนโลยีการพิมพ์สมัยใหม่

เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (Inkjet printers)
inkjet-printers-for-home-use
เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก หรือ เครื่องพิมพ์อิงก์เจ็ต (Inkjet Printer) ทำงานโดยการพ่นหมึกออกมาเป็นจุดเล็กๆบนกระดาษต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆจนทำให้เกิดเป็นรูปร่าง เช่นเดียวกับเครื่องพิมพ์แบบดอตแมทริกซ์ ซึ่งแต่ละจุดนั้นเครื่องของเราจะทำการคำนวนไว้แล้วเป็นอย่างดีว่าจะต้องพ่นหมึกลงตรงจุดไหนบ้างเพื่อจะให้เกิดเป็นรูป ภาพที่ได้จากเครื่องพิมพ์ชนิดนี้จะมีคุณภาพดีกว่าแบบดอตแมทริกซ์มาก แถมยังสามารถพิมพ์เป็นสีได้อีกด้วย
เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser printer หรือ Toner-based printers)
laser-printer-xerox
เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้เทคโนโลยีเดียวกับเครื่องถ่ายเอกสาร คือยิงเลเซอร์ไปสร้างภาพบนกระดาษในการสร้างรูปภาพ หรือตัวอักษร ซึ่งผลลัพธ์ที่ออกมาจะมีคุณภาพสูงมาก และราคาเครื่องพิมพ์ก็มีราคาสูงมากด้วยเช่นกัน ซึ่งเครื่องพิมพ์เลเซอร์จะทำงานได้เร็วกว่าเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก และคุณภาพของผลลัพธ์ทั้งด้านความคมชัดและรายละเอียดทำออกมาได้ดีกว่าแบบพ่นหมึกมากๆ
เครื่องพิมพ์แบบใช้ความร้อน (Thermal printer)
zebra-gk420d-direct-thermal-label-printer
เป็นเครื่องพิมพ์ที่ทำงานโดนการให้ความร้อนแก่กระดาษโดยไม่ต้องใช้หมึก เช่นแบบที่ใช้ในการพิมพ์ใบเสร็จจากเครื่องATM เครื่องคิดเงินในห้างสรรพสินค้าหรือร้านสะดวกซื้อ เครื่องคิดเลขแบบตั้งโต๊ะบางประเภท รวมถึงเครื่องโทรสารในสมัยก่อนก็ใช้ระบบการพิมพ์แบบนี้